เตรียมพร้อมก่อนเลี้ยงปลาคาร์ฟ

Japanese Carp

ปลาคาร์ฟ ถือว่าเป็นปลาน้ำจืด ที่จัดอยู่ในกลุ่มของปลาตะเพียน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน สำหรับประเทศไทยเรา มีการนำเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2493 ซึ่งช่วงนั้นยังนิยมเลี้ยงในกลุ่มของคนมีฐานะ หรือคนรวย เท่านั้น หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ทรงได้มีการสั่ง ปลาคราฟจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเลี้ยง พร้อมกับเรียกชื่อปลาคราฟอีกชื่อว่า ปลาอมรินทร์ค่ะ แต่ชื่อสามัญที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Carp อ่านไทยว่า คราฟ หรือ คาร์ฟ ซึ่งนิยมเรียกกันตาสากล และเรียกมาจนถึงทุกวันนี้

ต้องเตรียมอะไรบ้างก่อนเลี้ยงปลาคาร์ฟ

          1. เตรียมบ่อที่เลี้ยงปลาคาร์ฟ

ซึ่งควรจะเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรกและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

          2. เตรียมน้ำที่จะใช้เลี้ยง

ควรเป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับปลาคาร์ฟ

  1. ปลาคราฟญี่ปุ่นมักจะผสมพันธุ์เมื่ออากาศอบอุ่นและอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมบ่อให้พร้อมเพราะปลาคราฟสามารถผลิตไข่ได้มากถึง 1 ล้านฟอง บ่อที่ใช้เลี้ยงควรเป็นบ่อซีเมนต์ที่มีขนาดลึก 3 ฟุต และ 6 ฟุต และกว้างประมาณ 8 ฟุต สำหรับการเลี้ยงปลา 5 ตัว หากมีจำนวนมากกว่านี้ก็ต้องมีบ่อที่ขนาดใหญ่ขึ้น
  2. แนะนำให้อาหารอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง เนื่องจากปลาคราฟญี่ปุ่นต้องใช้พลังงานมากในการผสมพันธุ์ จึงจำเป็นต้องเติมพลังเพื่อที่มันจะได้ผลิตลูกที่มีคุณภาพในเวลาอันรวดเร็ว และควรป้อนอาหารให้มากที่สุดในเวลา 5 นาที อาหารที่แนะนำคือ ขนมปัง ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด ล้วนเป็นตัวเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อปลาทั้งสิ้น นอกจากนี้อย่าลืมเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่ปลาด้วย เพราะจะช่วยสนับสนุนร่างกายของพวกมันสำหรับการผสมพันธุ์ อาหารเสริมโปรตีนสามารถซื้อได้จากร้านขายสัตว์เลี้ยง
  3. ให้ความเป็นส่วนตัวกับปลา เช่นเดียวกับมนุษย์เพราะปลาเองก็ต้องการพื้นที่และความเป็นส่วนตัวในการผสมพันธุ์ ต้องใช้เวลาสักพักกว่าปลาจะผสมพันธุ์กันได้ ดังนั้น อย่าเพิ่งรีบร้อนควรให้เวลาและรออย่างใจเย็น